มูลนิธิ ‘May 18’ เกาหลีใต้ ออกแถลงการณ์แสดงความเป็นเอกภาพและสนับสนุนโครงการ Freedom Bridge

มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก หรือ The May 18 Foundation ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองควังจู เกาหลีใต้ ออกแถลงการณ์แสดงความเป็นเอกภาพและการสนับสนุนต่อโครงการ Freedom Bridge ซึ่งมีภารกิจให้ความช่วยเหลือและรณรงค์ในประเด็นนักโทษการเมืองในไทย โดยในแถลงการณ์ระบุว่า

 

“มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ขอแสดงความเป็นเอกภาพและความสนับสนุนต่อโครงการ Freedom Bridge ที่มีเป้าหมายเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของนักโทษการเมืองในประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะกรณีของทนายอานนท์ นำภา ทนายความและนักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน ผู้เคยได้รับรางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน

ทนายอานนท์ นำภาได้ถูกคุมขัง และถูกปฏิเสธการประกันตัวถึงกว่า 10 ครั้ง  เพียงเพราะการใช้สิทธิในการแสดงออกอย่างเสรี

นอกจากทนายอานนท์ ยังมีนักโทษการเมืองอีกกว่า 50 คนที่ถูกคุมขัง เพราะการแสดงออกในหลายรูปแบบ

โครงการ Freedom Bridge มุ่งทำงานเพื่อให้สังคมตระหนักถึงสถานการณ์นี้ และจัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนสนับสนุนผู้ต้องขังและครอบครัวของพวกเขา ซึ่งมักต้องประสบความยากลำบาก เนื่องจากผู้ต้องขังหลายคนเป็นเสาหลักของครอบครัว

มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ขอแสดงความยินดีและความยกย่องต่อโครงการ Freedom Bridge ในการดำเนินงานเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและการรณรงค์ การทำงานของท่านนอกจากจะช่วยให้สังคมตระหนักถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงในประเทศไทย ยังหนุนเสริมให้เกิดเครือข่ายผู้สนับสนุนและนักกิจกรรมระดับโลกที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและเสรีภาพ

มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ขอแสดงความเป็นเอกภาพ และขอให้โครงการ Freedom Bridge จงประสบความสำเร็จดังสิ่งที่มุ่งหมายทุกประการ

ขอแสดงความนับถือ,

ซุน ซุก วอน

ประธานมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก”

 

ทั้งนี้ มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ก่อตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนในเมืองควังจูที่ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของระบอบเผด็จการทหารภายใต้ประธานาธิบดี ‘ชอน ดู-ฮวาน’ และนำมาสู่เหตุการณ์สังหารหมู่โดยกองทัพเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2523  โดยเหตุการณ์ดังกล่าวที่เมืองควังจูถือเป็นหมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของเกาหลีใต้

 

นับตั้งแต่ปี 2543 มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก ได้มอบรางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (The Gwangju Prize for Human Rights) ให้กับบุคคลและองค์กรทั้งในเกาหลีใต้และต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ โดยมีคนไทย 3 คนที่เคยได้รับรางวัลนี้ ได้แก่ อานนท์ นำภา ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางการเมืองที่ได้รับรางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชนปี 2564 จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ‘ไผ่-ดาวดิน’ ได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 2560 และอังคณา นีละไพจิตร ได้รับรางวัลเมื่อปี 2549

 

 

 

Share This Story

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า